
Onlinenewstime.com : เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนเมษายน 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะ กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันตก และภาคกลาง และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ในหลายภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาค
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2568 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนเมษายน 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะ กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันตก และภาคกลาง และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ในหลายภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาค” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจ กทม. และ ปริมณทลในเดือนเมษายน 2568
มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7 6.7 และ 2.6 ต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -11.2 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.9 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.2 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -2.9 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อีกทั้งเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 874.3 ต่อปี
โดยเป็นการลงทุนในโรงงานโรงงานผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนจากน้ำมันพืชใช้แล้วในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 97.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.4 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนหดตัวที่ร้อยละ -5.5 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนหดตัวที่ร้อยละ -5.5 ต่อปี
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนเมษายน 2568
มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 1.5 และ 8.4 ต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -8.3 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 31.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -12.0 และ -2.6 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่หดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 97.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.4
เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี ขณะที่จำนวนผู้เยี่ยมเยือนหดตัวที่ร้อยละ -2.7 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนเมษายน 2568
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกร เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัว และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้
โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 23.8 4.1 และ 2.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -18.4 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -44.4 และ -11.4 ต่อปี ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 689.7 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำหรับระบบโทรคมนาคมแบบใยแก้วนำแสงในจังหวัดสระบุรี เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 97.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.4 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 และ 2.0 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนเมษายน 2568
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.1 และ 14.8 ต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -8.9 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 53.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.9 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.1 ต่อปี
ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -14.5 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 443.4 ต่อปี
โดยเป็นการลงทุนในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในจังหวัดสตูล เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 83.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 84.8 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 และ 4.2 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนเมษายน 2568
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 และ 11.4 ต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -6.0 และ -7.7 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน
สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -28.0 และ -6.0 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 และ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ
ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 67.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 68.0 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 8.0 และ 4.4 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนเมษายน 2568
มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี
ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -1.9 และ -0.3 ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้งรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -40.4 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.3
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -21.6 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -5.6 ต่อปี อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 170.4 ต่อปี
โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น Printed circuit board (PCB) ในจังหวัดปราจีนบุรี เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 93.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.3 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 และ 3.9 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนเมษายน 2568
มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัว อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 และ 3.9 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -8.4 และ -3.9 ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 15.6 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -19.2 ต่อปี
เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.4 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 และ 4.4 ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคของไทย ซึ่งสำรวจจากสำนักงานคลังจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนเมษายน 2568 สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคที่ปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าในบางภูมิภาค จากความเชื่อมั่นที่ชะลอตัวในภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นสำคัญ
ขณะเดียวกันกำลังซื้อสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคประชาชนปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค ยกเว้นภาคเหนือและภาคตะวันตกโดยความเชื่อมั่นในภาพรวมชะลอลงทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวชะลอลงในหลายภูมิภาค เนื่องจากเศรษฐกิจยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะสภาพอากาศที่แปรปรวน มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ รวมถึงต้นทุนการผลิตและระดับหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภูมิภาคในระยะต่อไป