Onlinenewstime.com : คุณผู้หญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป ในหลาย ๆ คน อาจจะเกิดความสงสัยกับตัวเอง หรือ ร่างกายของตัวเอง ที่อยู่ ๆ ก็เริ่มเปลี่ยนไป เริ่มมีอาการแปลก ๆ อย่างเหนื่อยง่าย จนตั้งคำถาม “ฉันผิดปกติตรงไหนหรือเปล่า” จริง ๆ แล้ววัยทองเกิดขึ้นเพราะรังไข่หยุดทำงาน จึงไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงทั้งเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน จึงทำให้ร่างกายเริ่มเข้าสู่กระบวนการ “วัยทอง” แล้วเท่านั้นเอง
สำหรับอาการวัยทอง แบ่งออกเป็น 3 ระยะ และมีอาการแตกต่างกัน ดังนี้
- ระยะสั้น หลังหมดประจำเดือนไม่นาน (Early)
ได้แก่ ร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ เครียด หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
- ระยะปานกลาง หลังหมดประจำเดือนเป็นปี (Intermediate)
ได้แก่ ผิวหนังเหี่ยวย่น มีริ้วรอย ช่องคลอดแห้ง ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ฯลฯ
- ระยะยาว หลังหมดประจำเดือนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (late)
ได้แก่ กระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
จากอาการและระยะเบื้องต้น อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับวัยทองทุกคน ครบทุกโรค ทุกอาการ และหากสงสัยว่าตัวเอง “เข้าสู่วัยทองหรือยัง” ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสอบร่างกายและระดับฮอร์โมนเพศหญิง รวมไปถึงเช็คอาการแทรกซ้อน เพื่อที่จะได้รับการดูแลรักษาตามอาการได้ถูกต้อง
ในช่วงวัยทอง ไม่ใช่แค่คนในช่วงวัยที่ได้รับผลกระทบ คนรอบข้างเองก็อาจจะได้รับผลกระทบ ในด้านของอารมณ์ของคนวัยทองด้วยเช่นกัน กรมอนามัยจึงอยากให้เข้าใจกันและกัน พร้อมช่วยกันดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไปด้วยกัน
Source : กรมอนามัย
ติดตามสาระความรู้สุขภาพ เพิ่มเติมได้ที่ https://multimedia.anamai.moph.go.th