fbpx
News update

10 ประเทศ ที่มีจำนวน “ประชากรมากที่สุดในโลก” ปี 2020

Onlinenewstime.com : ปี 2020 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจนโลกสั่นสะเทือนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  Population Reference Bureau รายงานข้อมูลประชากรโลก เพื่อการวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์โลกที่กำลังจะเปลี่ยนไป

ประชากรของแต่ละภูมิภาค

จำนวนประชากรตามภูมิภาค แสดงให้เห็นว่าทวีปเอเชีย ยังคงเป็นภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด โดยมีสัดส่วน 60% ของจำนวนประชากรโลก

ในขณะที่ทวีปแอฟริกามีประชากร 17% อเมริกา 13% ยุโรป 10%  และโอเชียนเนีย (Oceania) ประมาณ 1%

10 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด

ประเทศจีน รั้งตำแหน่งประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกต่อเนื่อง ด้วยจำนวนประชากรในปี 2020  1,402.40 ล้านคน คิดเป็น 18.04% ของประชากรทั้งหมดในโลก

อันดับที่ 2 ก็ยังคงเป็นอินเดีย แม้จะเผชิญความยากลำบากจากการระบาดของโควิด-19 โดยอินเดียมีจำนวนประชากรทั้งหมดที่ 1,400.10 ล้านคน

อันดับ 3 คือสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีจำนวนประชากรประมาณ 330 ล้านคน อันดับ 4, 5 คืออินโดนีเซียและปากีสถาน ในขณะที่ประเทศที่มีจำนวนประชากรอันดับที่ 6-10 ได้แก่ บราซิล, ไนจีเรีย, บังคลาเทศ, รัสเซีย และเม๊กซิโกตามลำดับ

ปฎิเสธไม่ได้ว่าประชากรในปัจจุบันของจีน ยังคงมีจำนวนมหาศาลใกล้เคียง 20% ของประชากรโลก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของ 65 ประเทศจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก จึงจะได้ผลรวมที่ใกล้เคียงกัน มีเพียงอินเดียเท่านั้นที่มีประชากรใกล้เคียงคือ 1,400 ล้านคน

  • Australia กับ New Zealand: 30.8 ล้านคน
  • Europe (ยกเว้น Russia): 600.3 ล้านคน
  • South America: 429 ล้านคน
  • USA และ Canada: 368.1 ล้านคน

ความหนาแน่นของประชากรกับความเสี่ยง

หากจะมองแนวโน้มทางประชากรตามที่ Population Reference Bureau  ตั้งข้อสังเกต จะมองเห็นค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด เนื่องจากมีประเทศถึงกว่า 26 ประเทศที่กว่า 40% ของประชากรทั้งหมด อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้มีจำนวนคนมากกว่า 1 ล้านคนในเมือง

แน่นอนว่าความหนาแน่นของจำนวนคนในเมืองใหญ่ จะเป็นอุปสรรคต่อการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค ดังที่เราประสบในสถานการณ์ COVID-19

เมืองใหญ่หลายแห่งในประเทศที่มีอัตรารายได้ต่ำ จนถึงปานกลางก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน การตั้งถิ่นฐานอย่างไม่เป็นทางการทำให้เกิดความหนาแน่นของประชากร และสร้างข้อจำกัดต่างในการดำรงชีวิต ตั้งแต่ความปลอดภัย การเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด สุขอนามัย และทำให้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่

การรักษาระยะห่าง และการกักตัวเองแทบจะเป็นไปไม่ได้  ขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ยมีตัวเลขที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ในหลากหลายประเทศทั่วโลก แอฟริกาตะวันตก และแอฟริกาตอนกลางมีขนาดครัวเรือนที่ใหญ่ที่สุด โดยเฉลี่ยที่ 5.1 คน

สิ่งที่สำคัญพอๆกับจำนวนคนในครัวเรือน คือการอยู่ร่วมกันในหลากหลายเจนเนอเรชั่น ซึ่งวิถีการดำรงชีวิตของคนแต่ละเจนฯ จะส่งผลต่อความสามารถในการป้องกันโรค การหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด –19 ในบ้าน ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุในบ้าน อาจมีโอกาสรับเชื้อจากสมาชิกในบ้าน ซึ่งมีการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ เป็นต้น

ปัจจัยต่างๆ มีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ทั้งความหนาแน่นของประชากรในเมือง พื้นที่ขนาดครัวเรือน และอายุของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรสูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงสูงจะเกิดอาการป่วยที่รุนแรง ซึ่งสัดส่วนของประชากรสูงวันในปัจจุบันนี้ อยู่ที่เฉลี่ย 20% และกำลังไต่สูงขึ้นเรื่อยๆตามทั่วโลกแนวโน้มสังคมสูงวัย

Source

error: Content is protected !!