fbpx
News update

สภาพัฒน์รายงานสภาวะสังคมไทย ไตรมาส 4 ปี 64 ขยายตัว 1.9% ​รวมทั้งปีขยายตัว 1.6% ​คาดปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5%

Onlinenewstime.com : สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า (9%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2564 ร้อยละ 1.8 (96QoQ SA) รวมทั้งปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดี ขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563

ด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภค ภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง การอุปโภค บริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการ คลี่คลายลงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ ภาครัฐซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการดําเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มไม่มี แอลกอฮอล์ การใช้จ่ายหมวดบริการลดลงร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นในกลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย การใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงาน

ขณะที่การใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรมลดลงในอัตราที่ ชะลอลง การใช้จ่ายหมวดสินค้าถึงคงทนลดลงร้อยละ 0.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.5 ในไตรมาส ก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และกลุ่มเสื้อผ้า และ รองเท้า และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 5.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.9 ในไตรมาสก่อน หน้า โดยการซื้อยานพาหนะลดลงในอัตราที่ชะลอลง การปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้

สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากระดับ 34.9 ในไตรมาส ก่อนหน้าเป็นระดับ 38.9 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 11.4 และ การโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสําหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวสูงร้อยละ 38.5 ตามการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสําหรับการรักษาโรคโควิด-19

ส่วนอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจํา อยู่ที่ร้อยละ 35.5 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 23.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 32.3 ในไตรมาส เดียวกันของปีก่อน) การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า

โดยการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงของการลงทุนรัฐบาลร้อยละ 11.6

ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 15.9 สําหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 16.0 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 24.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 12.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน)

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักร เครื่องมือลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดการ ก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า

ในด้านภาคการค้าต่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 70,543 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวใน เกณฑ์สูงร้อยละ 21.3 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8

สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรและ อุปกรณ์ (ร้อยละ 7.1) รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 25.7) รถกระบะ (ร้อยละ 55.4) เครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 25.8) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 28.7) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 51.7) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 25.8) ข้าว (ร้อยละ 13.2) ยางพารา (ร้อยละ 31.4) มันสําปะหลัง (ร้อยละ 56.2) และน้ำตาล (ร้อยละ 85.2) เป็นต้น

สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 15.1) และปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 2.4) เป็นต้น

การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง เมื่อหักการส่งออกทองคําที่ยังไม่ขึ้น รูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 20.8 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออก สินค้าขยายตัวร้อยละ 32.2

ส่วนการนําเข้าสินค้า มีมูลค่า 59,666 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 31.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคานําเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 และ ร้อยละ 5.7 ตามลําดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 10.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (362.7 พันล้านบาท)

ด้านการผลิต สาขาการผลิตอุตสาหกรรม สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ กลับมาขยายตัว สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมฯ ขยายตัวต่อเนื่อง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงชะลอตัว ส่วนสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการก่อสร้างลดลง

สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 3.8 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า และการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ใน ไตรมาสก่อนหน้า

โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 – 60 ขยายตัวร้อย ละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการ ผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 8.1 เร่งขึ้น จากการขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อนหน้า

และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการใช้กําลังการผลิตในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65.43 สูงกว่าร้อยละ 59.34 ใน ไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 63.77 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสําคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 15.8) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ กลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 8.6) การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน (ร้อยละ 98.7) และการผลิตยาน ยนต์ (ร้อยละ 4.4) เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสําคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 10.1) การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ลดลงร้อยละ 42.8) การผลิตจักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 15.4) และการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน (ลดลงร้อยละ 12.3) เป็นต้น

สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัว เร่งขึ้นของบริการขนส่งทางอากาศและการขยายตัวต่อเนื่องของบริการขนส่งทางน้ํา ในขณะที่บริการขนส่งทาง บกและท่อลําเลียงปรับตัวลดลง สําหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.5 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 14.8 สอดคล้องกับการขยายตัวของรายรับผู้ประกอบการ

สาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำและระบบปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.4 ในไตรมาส ก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้สําหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายภาค ครัวเรือน ในขณะที่กิจกรรมโรงแยกก๊าซปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2

สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน จํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการปรับตัวดีขึ้น ของกิจกรรมการผลิต

สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ขยายตัวร้อยละ 0.7 ซะลอตัวลงจากการ ขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตหมวดปศุสัตว์ หมวดประมง และข้าวเปลือก เป็นสําคัญ โดยผลผลิตสินค้าเกษตรสําคัญที่ลดลง เช่น สุกร (ลดลงร้อยละ 22.7) กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อย ละ 18.7) และข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 2.5) เป็นต้น

ขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรสําคัญ ๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น อ้อย (ร้อยละ 99.5) ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 26.8) และกลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 3.8) เป็นต้น

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.5 ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสําคัญ ๆ เช่น ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 16.6) กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 24.9) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 7.2) และสุกร (ลดลง ร้อยละ 2.3) เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น อ้อย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4) ปาล์มน้ำมัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0) มันสําปะหลัง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9) ไก่เนื้อ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5) เป็นต้น

ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.7 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลงร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 19.0 ในไตรมาส ก่อนหน้า

สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการท่องเที่ยวในประเทศและการเพิ่มขึ้นของจํานวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศ โดยในไตรมาสนี้มีรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 0.084 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 47.3 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 91.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้อง กับการคลี่คลายลงของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศ การผ่อนคลายมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดของภาครัฐ ความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน และการดําเนินมาตรการกระตุ้นภาคการ ท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีจํานวน 342,024 คน เพิ่มขึ้น จากฐานต่ำอย่างมีนัยสําคัญ โดยเป็นผลจากการดําเนินนโยบายเปิดประเทศแบบไม่กักตัวและไม่จํากัดพื้นที่ (Test & Go) และการผ่อนคลายมาตรการเดินทางของหลายประเทศ อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ ร้อยละ 26.25 สูงกว่าร้อยละ 5.46 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ํากว่าร้อยละ 32.49 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.64 ต่ำกว่าร้อยละ 2.25 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 1.86 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 และ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.3 สําหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (7.0 หมื่นล้านบาท) เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 2.46 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2560 มีมูลค่าทั้งสิ้น 9,644,256.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.6 ของGDP

เศรษฐกิจไทย ปี 2564

เศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563 ด้านการใช้จ่าย มูลค่าการส่งออกสินค้า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 34 ตามลําดับ

ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง สาขาการผลิตอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมฯ ขยายตัวร้อยละ 1.4 ร้อยละ 4.9 และ ร้อยละ 1.7 ตามลําดับ ขณะที่สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งฯ ลดลงร้อยละ 14.4 และร้อยละ 2.9 ตามลําดับ

รวมทั้งปี 2564 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท (5.06 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 232,176.0 บาทต่อ คนต่อปี (7,255.5 ตอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี)

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และตุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ร้อยละ 2.2 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2565

เศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 – 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสําคัญ ประกอบด้วย (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (2) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (3) การขยายตัว อย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า และ (4) แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออก สินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 4.9 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.8 ตามลําดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ ในช่วงร้อยละ 1.5 – 2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP

รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2565 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

1. การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะ ขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2564 และเป็นการปรับเพิ่มจากร้อยละ 4.3 ใน การประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการลดลงในความรุนแรงของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2564

และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการลดลงของกรอบวงเงินรายจ่ายประจําภายใต้กรอบรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2566 เมื่อเทียบกับกรอบในปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งการปรับองค์ประกอบให้สอดคล้องกับแผนงานและโครงการที่ได้รับการอนุมัติภายใต้พระราชกําหนด เงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท

2. การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปี 2564 โดย (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในปี 2564 และปรับลดลงจาก ร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน และ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อย ละ 3.8 ในปี 2564 และเท่ากับการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการคงสมมติฐานการเบิกจ่ายงบลงทุน ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2565 และการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ

3. มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับร้อยละ 18.8 ในปี 2564 และเท่ากับการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับลดปริมาณการส่งออกและ การปรับเพิ่มสมมติฐานราคาส่งออก

ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 ปรับลดลงจาก ร้อยละ 4.4 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและ การค้าโลก ขณะที่ราคาสินค้าส่งออกในปี 2555 มีแนวโน้มจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.5 – 1.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบ กับร้อยละ 0.0 – 1.0 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมัน

ขณะที่การส่งออกบริการคาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมา สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการ ท่องเที่ยวภายหลังการดําเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อรวมกับการส่งออกสินค้า

ทําให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 8.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.0 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 10.4 ในปี 2564

ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2565

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสําคัญกับ (1) การป้องกันและควบคุมการ แพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจํากัด (2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่ไปกับการ ดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจํากัดในการฟื้นตัว

โดย (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึง กลุ่มเป้าหมาย และมาตรการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมสําหรับกลุ่มที่ยังมีข้อจํากัดในการเข้าถึงและในสาขา เศรษฐกิจที่ยังมีข้อจํากัดในการฟื้นตัว (ii) การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานควบคู่ไปกับการพิจารณา มาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติม และ (iii) การเร่งรัดมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ

(3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ โดย (i) การติดตามและประเมินผลมาตรการต่าง ๆ ที่ ดําเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดําเนินการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (ii) การดูแลกลไกตลาดเพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า รวมทั้งผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และ (iii) การพิจารณาการใช้จ่ายภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2565 และ 2566 โดยให้ความสําคัญ มากขึ้นกับโครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างงานสร้างอาชีพในระดับชุมชน เพื่อรองรับแรงงานย้าย กลับภูมิลําเนา

(4) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยให้ความสําคัญกับมาตรการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการดําเนินมาตรการจูงใจในการชําระหนี้และบรรเทา ภาระหนี้สินที่สําคัญ

(5) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสําคัญไปยัง ตลาดหลัก ควบคู่กับการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพและการสนับสนุนการค้าชายแดน (ii) การ พัฒนาสินค้าส่งออกให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (iii) การแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบการขนส่งสินค้า และโลจิสติกส์ (iv) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไป กับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กําลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และ (v) การปกป้องความ เสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต

(6) การส่งเสริมการลงทุน ภาคเอกชน โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุน จริง (ii) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการ ประกอบธุรกิจ (iii) การดําเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก (iv) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ รวมถึงขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละ ภูมิภาค (v) การลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สําคัญ และ (vi) การพัฒนา กําลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย

(7) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

(8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ

และ (9) การขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนการ กระจายรายได้ และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

21 กุมภาพันธ์ 2565