fbpx
News update

มิติของการนำ “ใบพัดกังหันลม” มาใช้ซ้ำ (Reuse) สร้างสรรค์สิ่งใหม่แบบยั่งยืน

Onlinenewstime.com : กังหันลมที่สิ้นอายุขัย ถูกนำมา reuse หรือนำมาใช้ซ้ำ เป็นวัตถุดิบในการสร้างสะพาน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆที่เป็นประโยชน์ กังหันลมจำนวนมากที่สร้างขึ้นในช่วงปี 1990 ซึ่งนับเป็นยุคที่การใช้พลังงานลมถือเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่มาแรง แต่จะทำอย่างไรดี เมื่อวันนี้กังหันลมเหล่านั้นมาถึงจุดสิ้นสุดการทำงาน

ใบพัดของกังหันลม ผลิตจากคอมโพสิตไฟเบอร์กลาสที่เบาและแข็งแรง แต่ก็มีความยากลำบากมากในการรีไซเคิล และนั่นคือเหตุผลหลักที่เหล่านักออกแบบต้องหันมาคิดถึงการ reuse

เมื่อเดือนตุลาคม 2021 Anmet บริษัทรีไซเคิลของประเทศโปแลนด์ ได้สร้างสะพานขึ้นมาโดยใช้วัตถุดิบจากใบพัดกังหันที่หมดอายุแล้ว ช่วยสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ Szprotawa  เพื่อรองรับผู้คนและกลุ่มนักปั่นจักรยานในละแวกนั้น 

และในเดือนมกราคม 2022 ที่ผ่านมา เครือข่าย Re-Wind ก็ได้สร้าง ‘BladeBridge’ ใน County Cork ของประเทศไอร์แลนด์ โดยทำงานร่วมกับ Munster Technological University และ University College Cork

Photo Credit: re-wind

เครือข่าย Re-Wind ไม่เพียงแค่สร้างสะพานเพียงแห่งเดียว แต่ยังได้เผยแพร่ไอเดียของการนำใบพัดกังหันลมกลับมาใช้ใหม่ โดยมีแนวคิดตั้งแต่การนำมาสร้างสะพาน ป้ายรถบัส กระท่อมแคมป์ปิ้ง ไปจนถึงผนังกั้นคอกปศุสัตว์  และยังมีไอเดียจากดีไซน์เนอร์รายอื่นที่นำไปสร้างเป็นสนามเด็กเล่นและที่จอดจักรยาน

Photo Credit: Superuse Studio

ถึงแม้ข้อมูลเรื่องนี้จะมีไม่มาก แต่สำนักข่าว Bloomberg ได้ประมาณการไว้ว่า จะต้องมีการกำจัดใบพัดของกังหันที่หมดอายุจำนวนถึง 8,000 ใบในสหรัฐอเมริกาทุกๆปี บวกกับ 3,800 ใบในทวีปยุโรปและอีกมากมายจากทั่วโลก ตัวเลขเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ เทียบกับกำลังการผลิตพลังงานทั่วโลกในปี 1996 ที่มีเพียง 6.1 กิกะวัตต์ เพิ่มขึ้นถึง 743 กิกะวัตต์ในปี 2020

ตั้งแต่ใบพัดกังหันที่หมดอายุ กองซ้อนเพื่อรอการทำลาย ไปจนถึงปัญหาการทำเหมืองขุดโคบอลต์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า  ผู้บริโภควันนี้ต่างตระหนักมากขึ้นว่า แม้แต่วิธีการที่ดูเหมือนจะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมก็ยังมีอันตรายกับสิ่งแวดล้อมแอบแฝงอยู่ด้วยเหมือนกัน 

ซึ่งนั่นหมายความว่า แบรนด์ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆเหล่านี้ ไม่สามารถละเลยสิ่งที่ตามมาได้อีกต่อไป และจำเป็นต้องมองภาพรวมของวงจรชีวิตในผลิตภัณฑ์ของตัวเองด้วย 

เร่งเปลี่ยนแปลงภาระเหล่านี้ ให้เป็นผลบวก และสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจ โดยดำเนินงานทุกกระบวนการอย่างรอบคอบ และครบถ้วนให้ครอบคลุมถึงจุดสิ้นสุดของสินค้าหรือบริการ หากทำได้ตามนี้ ก็เรียกได้ว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนอย่างแท้จริง

Source