Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนเมษายน 2568 “ชะลอหลายพื้นที่ เหนือ-อีสานยังโตจากภาคเกษตร แนะจับตาภาษีสหรัฐฯ-สภาพอากาศ”

RSi march2568

Onlinenewstime.com : “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2568 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่ชะลอตัวในหลายภูมิภาค ตามแนวโน้มเศรษฐกิจในภาคเกษตรและภาคบริการที่ชะลอลง

อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจในภาคเกษตรเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ควรติดตามสภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการขึ้นภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯ และความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด”

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2568 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า

“ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2568 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่ชะลอตัวในหลายภูมิภาค ตามแนวโน้มเศรษฐกิจในภาคเกษตรและภาคบริการที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจในภาคเกษตรเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ควรติดตามสภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการขึ้นภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯ และความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อยู่ที่ระดับ 73.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม จากการจัดกิจกรรมและนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

การขยายตัวของภาคการส่งออก อุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรมที่มีต่อเนื่อง และคาดว่าจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมแปรรูป

อยู่ที่ระดับ 72.1 สะท้อนความเชื่อมั่นที่ดี โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและภาคการลงทุน ตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีอย่างต่อเนื่อง

อยู่ที่ระดับ 71.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการและภาคเกษตร จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ คาดว่าจะมีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ขณะที่ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรในปัจจุบันยังอยู่ในเกณฑ์ดี

อยู่ที่ระดับ 70.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ปรับตัวได้ดี โดยมีแรงสนับสนุนจากภาคบริการและภาคเกษตร จากมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง และนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

โดยเฉพาะในระยะ 6 เดือนข้างหน้าจะเป็นช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวและการออกเรือเพื่อจับสัตว์น้ำของชาวประมง ขณะที่ความต้องการสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น

สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ยังส่งสัญญาณบวกต่อเนื่องที่ระดับ 70.1

ชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 66.8 โดยมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มของภาคเกษตรและภาคบริการ ตามแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐและท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนมีความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายขึ้นภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนผู้ประกอบการ

อยู่ที่ระดับ 66.0 สะท้อนความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ปรับตัวได้ดี โดยเฉพาะในภาคเกษตรที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามฤดูกาล ประกอบกับมีนโยบายสนับสนุนเกษตรกรของภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ โดยแม้จะเป็นช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวของทะเลฝั่งอันดามัน

อย่างไรก็ดี ยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ และสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 59.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมและภาคการลงทุน

ทั้งนี้ ควรติดตามสภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นการขึ้นภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก รวมถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศเป็นสำคัญ

Exit mobile version