onlinenewstime.com : ทุกประเทศในโลก ต่างพึ่งพาการนำเข้าสินค้า เพื่อหนุนเศรษฐกิจของประเทศ การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคในประเทศได้ซื้อ และใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ ที่อาจไม่มีผลิตในประเทศของตนเอง แล้วประเทศของเรา พึ่งพาการนำเข้า เพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจหรือไม่ ลองมาดูกันหน่อยว่า ประเทศอะไรใช้จ่ายมากที่สุดในการนำเข้า
สหรัฐฯเป็นประเทศนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยตัวเลขที่ 2.6 ล้านล้านเหรียญ
เมื่อสงครามการค้าระหว่าง 2 บิ๊ก (สหรัฐอเมริกาและจีน) ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่า จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆมากเพียงใด
ในขณะเดียวกัน สหภาพยุโรป ก็เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกเช่นกัน โดยรวมมีมูลค่าการนำเข้า 6.5 ล้านล้านดอลลาร์
10 อันดับผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลก
- สหรัฐอเมริกา: 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- จีน: 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เยอรมัน: 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ญี่ปุ่น: 749 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อังกฤษ: 674 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ฝรั่งเศส: 673 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เนเธอร์แลนด์: 646 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ฮ่องกง: 628 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เกาหลีใต้: 535 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อินเดีย: 511 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลที่นำมาแสดงอ้างอิงจาก WTO ซึ่งบันทึกมูลค่ารวม ของสินค้าที่นำเข้าในแต่ละประเทศ
แผนภาพด้านบน ตอกย้ำความสำคัญ ของการค้าระหว่างประเทศ ที่มีกับเศรษฐกิจโลก จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ๆ เช่นสหรัฐอเมริกาไปจนถึงประเทศเล็ก ๆ อย่างคิวบา ทุกประเทศในโลกทุ่มเทงบประมาณส่วนใหญ่ ไปกับการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น
สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีจีนตามมาติดๆ สิ่งนี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า สงครามการค้าของทั้ง 2 ประเทศ จะมีผลกระทบกับสถิติเหล่านี้ มากน้อยแค่ไหน
ในฐานะที่สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีน สงครามการค้า อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการขาดดุลการค้าของทั้งคู่ ยิ่งไปกว่านั้นจะส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ดังที่กล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ในการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จากการวิเคราะห์นี้ จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แต่ละประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่น ๆ แล้วผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด จะมีความเชื่อมโยงกับผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดหรือไม่ ต้องมาดูสถิติการส่งออกต่อไป
ใครเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในโลก
การส่งออกสินค้า เป็นส่วนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน ทุกประเทศสามารถหนุนเศรษฐกิจของตนเอง โดยการขายทรัพยากร และสินค้าอุปโภคบริโภคไปยังประเทศอื่น ๆ ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนา ต่างก็ส่งออกสินค้าไปทั่วโลก
แต่ประเทศอะไร ที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกในด้านการส่งออก
จีนยังคงเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยส่งออกสินค้ามูลค่า 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018
ในขณะที่ อุตสาหกรรมส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม น้ำมันดิบ เครื่องบินพลเรือน ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม
จึงไม่น่าสงสัยเรื่องสงครามการค้าของ 2 ประเทศนี้ จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ต่ออุตสาหกรรมการส่งออกของโลก
สำหรับ กลุ่มสหภาพยุโรป ก็มีสถิติของอุตสาหกรรมส่งออกที่ใหญ่ที่สุดเช่นกัน ที่ตัวเลข 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2018
10 อันดับผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก
- จีน: 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สหรัฐอเมริกา: 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เยอรมัน: 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ญี่ปุ่น: 738 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เนเธอร์แลนด์: 723 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เกาหลีใต้: 605 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ฝรั่งเศส: 582 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ฮ่องกง: 569 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อิตาลี: 547 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อังกฤษ: 486 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
แผนภาพและข้อมูลที่เสนอ มาจากข้อมูลอ้างอิงของ WTO
ขณะที่กลุ่มไม่กี่ประเทศ มีอำนาจเหนืออุตสาหกรรมส่งออกทั่วโลก ทุกประเทศในโลกต่างก็ต้องพึ่งพาการส่งออก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเชิงลึกที่น่าสังเกตมากที่สุด คือจำนวนอุตสาหกรรมการส่งออกทั่วโลก ที่ถูกครอบงำ โดยเพียงไม่กี่ประเทศ จีนเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก ทิ้งห่างจากสหรัฐฯประมาณ 800 พันล้านเหรียญ การส่งออกอันดับต้น ๆ ของจีน ได้แก่ เครื่องจักร เทคโนโลยี เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก และยานพาหนะ
นอกจากนี้ตัวเลขของ 3 อันดับแรกรวมกัน (จีนสหรัฐอเมริกาและเยอรมัน) มีมูลค่าการส่งออก มากกว่า 7 ลำดับถัดไปรวมกัน
จึงมาถึงความสำคัญที่ต้องพิจารณา นั่นคือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
จากสงครามการค้าคู่เอก ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลก เราต้องมองว่าผู้สูญเสียในสงครามครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ทั้ง 2 ประเทศ
แต่ประเทศอื่น ๆ ที่พึ่งพาทั้ง 2 ประเทศ ในฐานะหุ้นส่วนการค้าที่สำคัญ ก็จะได้รับผลกระทบ และบาดเจ็บไม่แพ้กัน
มูลค่านำเข้าและส่งออกของไทย ปี 2018 นำเข้า 249,660.40 ดอลลาร์สหรัฐ ส่งออก 252,106.40 ดอลลาร์สหรัฐ Source: WTO