fbpx
News update

สินค้าแบบ “ไร้แพคเกจจิ้ง” แนวคิดหันหลังให้พลาสติกของ “ซุปเปอร์มาร์เก็ตในอังกฤษ”

onlinenewstime.com : ถุงพลาสติกแบบใช้ได้ครั้งเดียว ถูกแบนอย่างกว้างขวางในหลายประเทศทั่วโลก เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และนี่เป็นการริเริ่มล่าสุด กับการหันหลังให้พลาสติก ของซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศอังกฤษ โดยการทดลองจำหน่ายสินค้าแบบไร้แพคเกจจิ้ง  

Waitrose ซุปเปอร์มาร์เก็ตเชนของอังกฤษ รณรงค์การจำหน่ายสินค้าแบบไม่มีแพคเกจ เป็นเวลา 11สัปดาห์ โดยการกระตุ้นให้ลูกค้า นำภาชนะมารีฟิลสินค้าเอง ตั้งแต่เบียร์ ไปจนถึงผลไม้แช่แข็ง

Waitrose เริ่มโครงการนำร่องนี้ ที่สาขา Oxford ไปจนถึงวันที่ 18 สิงหาคม เพื่อทดสอบคอนเซปท์ ที่ผู้ค้าปลีก ต่างประเมินว่าจะสามารถ “ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ และพลาสติกได้นับพันตัน”

ในโซน “รีฟิล” ประกอบด้วยสินค้าถึง 28 รายการ ซึ่งมีทั้ง พาสต้า ข้าว ธัญพืช ตลอดจน เบียร์ ไวน์ และกาแฟ

ลูกค้าจะชั่งน้ำหนัก ภาชนะเปล่าที่นำติดตัวมา และพิมพ์ ticket ที่ออกมาพร้อมบาร์โค้ด เมื่อกรอกรายการสินค้า ที่เลือกและรีฟิลเรียบร้อยแล้ว ก็นำ ticket ไปสแกนบาร์โค้ด และชั่งน้ำหนักอีกครั้ง จะได้ ticket ใบที่สอง ซึ่งแสดงราคาสินค้า ที่หักลบน้ำหนักของภาชนะออกไปแล้ว

ประโยชน์ที่ได้รับ นอกจากคุณจะสามารถเติมสินค้าที่ต้องการ โดย reuse ภาชนะในบ้านได้แล้ว เมื่อเปรียบเทียบสินค้าตัวอย่าง เช่นน้ำยาซักผ้า คุณยังได้ประหยัดไปอีกประมาณ 1 ปอนด์  (USD 1.27 ประมาณ 42 บาท) เมื่อเทียบกับการซื้อรุ่นบรรจุขวด

Tor Harris หัวหน้า ฝ่าย CSR ของ Waitrose & Partners กล่าวว่า “การทดสอบนี้ จะยกระดับความมุ่งมั่นของเราไปอีกก้าวหนึ่ง เพราะเราจะช่วยสร้าง ฐานลูกค้าจำนวนมาก ให้จับจ่ายใช้สอย ในแนวทางที่ยั่งยืน” โดย Waitrose ตั้งเป้าหมาย การนำบรรจุภัณฑ์มา reuse และทำบรรจุภัณฑ์แบบย่อยสลายได้ ให้สำเร็จภายในปี 2023

แนวโน้มที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โครงการรีฟิล ได้ถูกนำร่องโดยผู้ค้าปลีก 40 รายทั่วโลก ตามแนวทางของมูลนิธิ Ellen McArthur ที่ให้ธุรกิจยุติการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก

บริษัททั่วโลกกว่า 350 แห่งได้ลงนามใน New Commitment Global Plastics Economy Commitment ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการริเริ่ม ของมูลนิธิ Ellen MacArthur   และ World Economic Forum

ผู้ร่วมลงนาม ได้ให้คำมั่นที่จะหยุดขยะพลาสติก และการสร้างมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยใช้หลักการ ‘circular economy’ (แนวทางธุรกิจใหม่ ที่เน้นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการของเสียให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ) รวมทั้งการเพิ่มเนื้อหารีไซเคิล ในบรรจุภัณฑ์ ให้มีค่าเฉลี่ย 25% ภายในปี 2025 (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกในปัจจุบันมีเพียง 2%)

บริษัทต่างๆ ร่วมให้คำมั่นจะยุติการใช้พลาสติกที่ไม่จำเป็น เช่น PVC หลอดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและถุง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมาย ภายในปลายปีนี้

ความร่วมมือนี้ แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม โดยยักษ์ใหญ่อย่าง คาร์ฟูร์, เนสท์เล่, โคคา โคลา และยูนิลีเวอร์ เริ่มเปิดเผย ตัวเลขปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกประจำปีต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี

Source

error: Content is protected !!